กลายยเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงเป็นประเด็นอยู่ในโลกโซเชียลอยู่ในตอนนี้ สำหรับ ประเด็นถกเถียงที่ว่า จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ภาคไหน กันแน่? เพราะหลังจากช่องยูทูปรีวิวอาหารตะลุยกินเที่ยวจุก ๆ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา 8 ร้านเด็ด อาหารทะเลและของหรอย เที่ยวไปกินไปสบายพุงจ้า ซึ่งในคลิปนั้น คงจะมีการระบุว่าจังหวัดสมุทรปราการอยู่ในภาคตะวันออก จนทำให้ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ว่าสมุทรปราการไม่ได้อยู่ภาคตะวันออก แต่อยู่ในภาคกลาง
โดยล่าสุด ทางด้านเพจเฟสบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ได้โพสต์ถึงประเด็นนี้ โดยได้โพสต์ระบุว่า…..
"จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ภาคไหน กันแน่? "
เกิดประเด็นดราม่าเล็ก ๆ แต่น่าคิดดีครับ กับกรณีที่เพจรีวิวอาหารเพจหนึ่ง ชือ หนูหรี่ Nuree ได้โพสต์คลิปแนะนำที่กินเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ ชื่อ "ตะลุยกินเที่ยวจุก ๆ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา 8 ร้านเด็ด อาหารทะเลและของหรอย เที่ยวไปกินไปสบายพุงจ้า" (ดู https://www.youtube.com/watch?v=x8cM8tzENSY )
ซึ่งในคลิปนั้น คงจะมีการระบุว่าจังหวัดสมุทรปราการอยู่ในภาคตะวันออก !? เลยทำให้มีคอมเม้นต์ตามมาว่า "ก่อนทำคลิปน่าศึกษาข้อมูลก่อน ว่าสมุทรปราการไม่ได้อยู่ภาคตะวันออก แต่อยู่ในภาคกลาง" (ซึ่งก็มีคอมเม้นต์ทำนองนี้กันหลายคนทีเดียว)
ซึ่งทางเพจก็ได้แย้งกลับไปว่า ได้อ้างอิงการจัดแบ่งภูมิภาค ตามคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ภาคตะวันออกนัั้นรวมถึงจังหวัดสมุทรปราการด้วย (ดูดราม่านี้ได้ที่ https://www.facebook.com/EreeePage/posts/pfbid02x96xyikbuKM78RryRKjKRcETVWYNwrAMZPUY6YaKPTU773FB1qzwt4hHjPz7oSyl)
คำตอบเรื่องนี้ก็คือ "ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งภูมิภาคครับ" ตามแต่ละหน่วยงานจะตั้งเกณฑ์ ซึ่งแต่ละเกณฑ์ก็มีแนวคิดหลักการต่างกัน ไม่ใช่ว่าของใครถูกใครผิด
เพราะภูมิภาคเป็นการปกครองที่ไม่มีผู้บริหาร ไม่มีเขตที่ชัดเจน การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคจึงเป็นเพียงการจัดกลุ่มทางภูมิศาสตร์และสถิติเท่านั้น (บางครั้ง จึงมีการระบุว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นภูมิภาค ที่แยกต่างหากจากภาคกลาง)
สรุปคร่าวๆ จากที่วิกิพีเดียรวบรวมมา ได้ดังนี้ครับ
1. การแบ่งอย่างแบบ 6 ภูมิภาค : ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และจัดให้เป็น "การแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการ" ในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคกลาง
2. การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค : ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ และยังเป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติเมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคกลาง
3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย : แบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคกลาง
4. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคตะวันออก
5. กรมอุตุนิยมวิทยา : แบ่งภูมิภาคออกเป็น 7 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตุนิยมวิทยา
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ใน "กรุงเทพและปริมณฑล"
6. กรมทางหลวง : แบ่งประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค ตามลำดับหมายเลขทางหลวง
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคกลาง
7. รหัสโทรศัพท์พื้นฐาน :
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ใน "02 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล"
8. รหัสไปรษณีย์ : กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 9 ภาค ตามระบบรหัสไปรษณีย์
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคกลาง
8. การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน : แบ่งโดยใช้จำนวนประชากรในกลุ่มแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มโดยให้มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน และในแต่ละกลุ่มจะต้องมีพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ใน "กลุ่มที่ 6 กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ"
8. กิจการลูกเสือ :
– จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ใน "เขตที่ 1 – สีเหลือง กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร"
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
ถ้านับแบบให้ภาคตะวันออกนี่คือแรร์มาก ทำไมไม่นับแบบส่วนใหญ่ นี่นับตามความรู้สึกยังไงก็ตะวันออกไม่ได้ เราเด็กฝั่งธนจะให้ขี่มอไซค์แค่สิบกว่ากิโลก็หลุดไปภาคตะวันออกเลยได้ไง 5555
ปัจจุบันสมุทรปราการอยู่ภาคกลาง กลุ่มจังหวัดกรุงเทพและปริมณฑล ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ ปรับเปลี่ยนไปตามการแบ่งเขตการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งพวกเราทำงานอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ถูกให้มีการปรับเปลี่ยนจากอยู่ภาคตะวันออกมาเป็นอยู่ภาคกลาง ประมาณ 4-5ปี มาแล้วนี้ค่ะ
จะเห็นได้ว่ามีคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคตะวันออก นอกนั้นบอกว่า จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในภาคกลางทั้งหมด
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์