ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสที่มักถูกนำมาใช้โดยเฉพาะในร้านอาหารจีน แต่ซอสถั่วเหลือง (หรือ jiàngyóu ในภาษาจีน) ที่เป็นรากฐานหลักในรสชาติของอาหารจีน อาทิ การทำน้ำหมัก ซุป หรือซอส ซึ่งช่วยสร้างรสชาติใหม่ ๆ ให้กับอาหารได้อย่างน่าอัศจรรย์ และต้นกำเนิดของซอสชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อ 500 ปี ก่อนคริสตกาล
ดังที่กล่าวมาต้นกำเนิด ซอสถั่วเหลืองเริ่มต้นขึ้นราว ๆ 500 ปี ก่อนคริสตกาลในประเทศจีน เวลานั้นเกลือค่อนข้างหายากและมีราคาแพง ผู้คนจึงพยายามหาวิธีการใช้เกลือให้คุ้มค่าและใช้ได้นานมากขึ้น ด้วยเหตุนี้การหมักซอสถั่วเหลืองและปลาจึงเกิดขึ้น
ในช่วงราชวงศ์ฮั่นประมาณ 220 ปีก่อนคริสตศักราช ศาสนาพุทธเริ่มขยายเข้าสู่ประเทศจีน และในศีล 5 ตามหลักคำสอนของชาวพุทธ มีข้อหนึ่งที่ต้องละเว้นจากการทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ดังนั้น ซอสหมักสูตรดั้งเดิมจึงถูกแบ่งรูปแบบการหมักออกเป็นสองประเภทที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุสงฆ์และฆราวาสรับประทานอาหารที่ผลิตจากเนื้อสัตว์ จึงเกิดเป็น น้ำปลา และ เจียง (jiàngyóu) หรือ ซีอิ๊ว ก็กลายเป็นซอสทางเลือกของคนที่ทานมังสวิรัติ
หลังจากนั้นซีอิ๊วก็เริ่มได้รับความนิยมในอาหารจีนสำหรับชาวพุทธศาสนามากขึ้น เนื่องจากเวลานั้น เจียง เป็นหนึ่งในสารปรุงแต่งรสเข้มข้นเพียงไม่กี่ชนิดที่มีอยู่ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารมังสวิรัติที่ค่อนข้างจืดชืดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผักที่มีกลิ่นฉุนสูง เช่น หัวหอม หอมใหญ่ กระเทียม และหอมแดง ถูกละเว้นโดยนักบวช เนื่องจากมีคำบอกเล่าว่าสารในผักที่มีกลิ่นฉุน สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสและเพิ่มความต้องการทางเพศได้ ดังนั้นการเลือกใช้ ซีอิ๊ว จึงช่วยเพิ่มรส และกลิ่นหอมทดแทนได้เป็นอย่างดี
จนกระทั่ง ใกล้สิ้นศตวรรษที่ 7 พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นที่ศึกษาในประเทศจีนได้เดินทางกลับบ้านและนำวิธีการผลิตซีอิ๊วพร้อมกับคำสอนทางพุทธศาสนากลับประเทศด้วย แม้ว่าชนชั้นปกครองของญี่ปุ่นจะยอมรับ แต่ชาวพุทธกลุ่มแรกเหล่านี้ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักในญี่ปุ่นมากนัก
ณ เวลานั้น มีคำเล่าขานกันว่า ความนิยมของซีอิ๊วเกิดขึ้นในญี่ปุ่นหลังปี ค.ศ. 1254 หรือก็คือตอนที่นักบวชนิกายเซนชาวญี่ปุ่นกลับมาจากประเทศจีนหลังจากเรียนรู้กระบวนการทำเต้าเจี้ยว และ เจียง ที่วัดเซนของจีน นักบวชที่กลับมาตั้งรกรากอยู่ในเมืองยัวสะ ประเทศญี่ปุ่น จึงเริ่มทดลองทำ เจียง ภายในวัด และด้วยสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศของญี่ปุ่น รถชาติของ ซีอิ๊ว จึงเปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้ ซีอิ๊ว จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “โชยุ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสเฉพาะของญี่ปุ่น ในช่วงราชวงศ์ ยามาโตะ ขึ้นปกครองประเทศ (ค.ศ. 250 - ค.ศ. 710)
ในเวลาเดียวกัน พุทธศาสนาเริ่มรุ่งเรืองมากขึ้น และการผลิตซอสถั่วเหลืองส่วนใหญ่ ถูกผลิตอยู่ภายในวัดเป็นกิจกรรมสำคัญ จนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1600 โชยุ ถูกนำออกไปผลิตที่เมืองโนดะ (ปัจจุบันผลิตในจังหวัดชิบะ) และกลายเป็นที่มาของซอสถั่วเหลืองแบรนด์ Kikkoman ซอสที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
ซีอิ๊วสู่ประเทศเกาหลี
ซีอิ๊วสู่ยุโรป
ซีอิ๊วสู่สหรัฐอเมริกา
เหตุที่เรียกว่า ซีอิ๊วขาว : ซีอิ๊วในภาษาจีนหมายถึงการหมัก ส่วนขาวที่ตามหลัง ไม่ได้เรียกเพราะดูจากสีของตัวซอส แต่เพิ่มคำว่าขาวเข้าไปเพื่อสื่อถึงกระบวนการหมักซีอิ๊ว ไม่มีการเติมสี หรือสารเจือปน ความบริสุทธิ์ตามกระบวนหมักดังกล่าวจึงเป็นที่มาของคำว่า ขาว นั่นเอง
“ชีวิตคนเราล้วนมีตัวแปรสู่ความสำเร็จที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการหมักซอสถั่วเหลืองที่นำมาซึ่งรสชาติ กลิ่น และรส อันเป็นเอกลักษณ์ตามแต่ละสภาพแวดล้อม”
ที่มา :
- https://www.soysauce.or.jp/en/the-history-of-soy-sauce
- https://chinalivesf.com/soy-sauce-chinese-staple/
- https://soysauce-japan.com/pages/history-of-soy-sauce
- https://issuu.com/getyummy/docs/yummy_melting_pot/s/124717